วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554

สื่อบทเรียน e-Learning (อีเลิร์นนิ่ง)
หมายถึง รูปแบบของเนื้อหาสาระที่สร้างเป็นบทเรียนออนไลน์สำเร็จรูป ที่อาจใช้ซีดีรอม (CD-ROM) เป็นสื่อกลางในการส่งผ่าน หรือใช้การส่งผ่านอินเทอร์เน็ต (Internet) หรือเครือข่ายภายใน ทั้งนี้อาจจะอยู่ในรูปแบบคอมพิวเตอร์ช่วยการฝึกอบรม (Computer Based Training: CBT) และการใช้เว็บเพื่อการฝึกอบรม (Web Based Training: WBT) หรือการเรียนการสอนทางไกล (Distance Learning) ผ่านดาวเทียมก็ได้
ความสำคัญ ของ e – Learning
การเรียนในระบบ e-Learning สามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรบุคคลได้
การเรียนในระบบ e-Learning ตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคล เนื่องจากเป็นบทเรียนที่ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ตามความถนัด ตามความต้องการ
การเรียนในระบบ e-Learning ผู้สอนและผู้เรียนสามารถติดต่อกันได้โดยใช้เครื่องมือสื่อสารในระบบ e-Learning เอง ซึ่งได้แก่กระดานสนทนา (Web board) ห้องสนทนา (Chat room)
วิธีใช้     วิธีการเรียนรู้โดยใช้สื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (แบบ e-Learning)  มี 2 วิธี คือ
                วิธีที่ 1     วิธีการใช้ CD-Rom สื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (แบบ e-Learning)
                วิธีที่ 2     วิธีการใช้ทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านเว็บไซต์ http://www.kruparinya.ob.tc
ประโยชน์ของ e-Learning
1. ยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนเนื้อหา และ สะดวกในการเรียน
2. เข้าถึงได้ง่ายปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยกระทำได้ง่าย
3. ประหยัดเวลา และค่าเดินทาง
คำแนะนำสำหรับครูผู้สอน
1.  ศึกษาคู่มือการใช้อย่างละเอียดและศึกษาให้เข้าใจถึงขั้นตอนในการใช้สื่อบทเรียน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (แบบ e -Learning)
                2.  ครูต้องเตรียมห้องหรือเครื่องมือที่ใช้สอนตามข้อจำกัดต่าง ๆ ให้ครบ
                3.  ควรศึกษาและทดลองใช้บทเรียนก่อนที่จะนำไปใช้กับนักเรียน
                4.  สร้างความคุ้นเคยและสามารถแนะนำการใช้สื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
(แบบ e-Learning) ให้กับนักเรียนจนเข้าใจ
                5.  ในขณะที่ทำกิจกรรม ครูต้องคอยดูแลช่วยเหลือเมื่อนักเรียนเกิดปัญหาหรือมีข้อสงสัย
                6.  เมื่อนักเรียนเรียนจบเนื้อหาในบทเรียนแล้ว ครูควรเก็บคะแนนที่ได้เป็นรายบุคคล
เพื่อเป็นการวัดผลและประเมินผลโดยโปรแกรม ซึ่งนักเรียนสามารถตรวจสอบผลการเรียนพิมพ์ดีดของตนเองได้ และยังใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนานวัตกรรมประกอบการเรียนการสอนต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น