วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2554

บุญเดือนหก

           หรือบุญเดือนหก ทำเพื่อเป็นการบูชาเทพยดาอารักษ์หลักบ้านหลักเมือง เพื่อให้ฟ้าฝนตกตามฤดูกาล เพื่อให้ทำไร่ทำนาได้อุดมสมบูรณ์ และบูชาพญาแถนผู้ให้ฝนด้วย
           บั้งไฟ ความหมายบั้งหรือกระบอกที่ตอกด้วย หมื่อ หมายถึงเอากัมมะถัน ประกอบด้วยดินประสิวคั่วผสมกับถ่านตำให้ละเอียดก่อนนำไปอัดแน่น
 
สาเหตุที่ทำ     เพื่อเป็นการสักการะบูชาพระยาแถน ซึ่งคนลาวและคนไทยอีสานเชื่อว่าเป็นเทพเจ้าแห่งฝน ถ้าได้จุดบั้งไฟขึ้นไปบูชาเทพเจ้าองค์นี้แล้วจะบันดาลให้ฝนตกลงมา ตามฤดูกาลและมีปริมาณเพียงพอแก่การปลูกพืชพันธุ์ ธัญญาหาร
มีเรื่องเล่าว่า  ณ บนสวรรค์ชั้นฟ้า มีเทพบุตรนามว่า วัสสกาลเทพบุตร เทพเจ้าองค์นี้เป็นผู้ดูแลน้ำฟ้า น้ำฝน จะตกหรือไม่ก็อยู่ที่เทพเจ้าองค์นี้ ใครทำถูก ทำชอบ ท่านก็จะประทานน้ำฝนให้ ใครทำไม่ถูกไม่ชอบท่านก็ไม่ให้ สิ่งที่ท่านเทพเจ้าองค์นี้ชอบคือการบูชาไฟ ใครบูชาไฟถือว่าบูชาท่านจะทำให้ฟ้าฝนตอลงมาตามฤดูกาล อาศัยเหตุนี้คนจึงพากันทำ การบูชาไฟด้วยการทำบั้งไฟ คือเป็นแระเพณีทำบุญบั้งไฟมาจนทุกวันนี้
 พิธีกรรม      ชาวบ้านจะประชุมตกลงกันกำหนดวันนัดหมายวันที่จะทำบุญบั้งไฟผู้ที่เป็นช่างจะจัดหาไม้ไผ่มาทำบั้งไฟ เอาถ่านคั่วขี้เจีย (ดิน)ประสมตำเป็นหมื่อ การทำบั้งไฟมาแข่งขันกัน แบ่งออกตามขนาดที่กำหนด เช่น บั้งไฟฟมื่น จะมีหน้ำหนักประมาณ 12 กิโลกรัม บั้งไฟแสน จะมีน้ำหนักประมาณ 120 กิโลกรัม บั้งไฟพลุ (มีต้นตำรับแบบลูกระเบิด) เมื่อถึงวันรวม ชาวบ้าน ญาติโยมจะทำบุญเลี้ยงพระเพล และตอนประมาณบ่าย 3 โมงเย็น ทางวัดจะตีกลองเป็นสัญญาณบอกให้ทุกๆ คนนำบั้งไฟมารวมกันที่วัดแล้วเริ่มตั้งขบวนแห่โดยเริ่มจากจุดใด จุดหนึ่งซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นขบวนแห่ แล้วก็นำรถที่บรรทุกใส่บั้งไฟเป็นขบวนแห่ให้ประชาชนดูรอบๆ แล้วนำไปไว้ที่วัดในการแข่งขันบั้งไฟจะมีคนมาร่วมขบวนแห่จำนวนมาก และในการแสดงจะมีการแสดงท่าทางต่างๆ ทั้งตลก เป็นการสร้างสีสรรในงานเป็นอย่างมาก
               ในวันรุ่งขึ้นญาติโยมจะทำบุญตักบาตร แล้วหลังจากนั้นก็จะมีการจุดบั้งไฟ ถ้าบั้งไฟของใครขึ้นก็จะร้องไชโย หามแห่เจ้าของบั้งไฟ แต่ถ้าบั้งไฟของใครแตก ซุ ก็จะหามลงโคลน ในช่วงเดือนหก นอกจากจะมีบุญบั้งไฟแล้วยังมีงานบุญในวันวิสาขบูชา

ดูเพิ่มเติม : http://youtu.be/2g4LOU8U294

วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2554

สมุนไพร

กระชาย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Boesenbergia rotunda  (L.) Mansf.
วงศ์ :   Zingiberaceae
ชื่ออื่น : กะแอน  จี๊ปู ซีฟู  เปาซอเร๊าะ  เป๊าสี่ระแอน ว่านพระอาทิตย์
ลักษณะ : เป็นไม้ล้มลุกไม่มีลำต้นบนดิน มีเหง้าใต้ดินซึ่งแตกรากออกไปเป็นกระจุกจำนวนมาก อวบน้ำ ตรงกลาลพองกว้างกว่าส่วนหัวและท้าย ใบ เดี่ยว เรียงสลับเป็นระนาบเดียวกัน รูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 4.5-10 เซนติเมตร ยาว 13-15 เซนติเมตร ตรงกลางด้านในของก้านใบมีร่องลึก ดอก ช่อ ออกแทรกอยู่ระหว่างกาบใบที่โคนต้น กลีบดอกสีขาวหรือชมพูอ่อน ใบประดับรูปใบหอกสีม่วงแดง ดอกย่อยบานครั้งละ 1 ดอก
ประโยชน์ทางสมุนไพร  ตำรายาไทยใช้เหง้าแก้โรคในปากเช่นปากเปื่อย ปากเป็นแผล ปากแห้ง ขับระดูขาว ขับปัสสาวะ รักษาโรคบิด แก้ปวดมวนท้อง จากการทดลองในสารสกัดแอลกอฮอล์และคลอโรฟอร์ม พบว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังและในปากได้ดีพอควร


กระเทียม 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Allium sativum L.
วงศ์ :   Alliaceae
ชื่อสามัญ : Common Garlic , Allium ,Garlic ,
ชื่ออื่น : กระเทียม (ภาคกลาง) หอมเทียม (ภาคเหนือ) หอมขาว (ภาคอีสาน) เทียม, หอมเทียม (ภาคใต้)
ลักษณะ :  ไม่พุ่ม สูง 2-4 เมตร กิ่งอ่อนมีหนาม ใบประกอบชนิดมีใบย่อยใบเดียว เรียงสลับ รูปไข่ รูปวงรีหรือรูปไข่แกมขอบขนานกว้าง 3-5 ซม. ยาว 4-8 ซม. เนื้อใบมีจุดน้ำมันกระจาย ก้านใบมีครีบเล็ก ๆ ดอกเดี่ยวหรือช่อ ออกที่ปลายกิ่งและที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม ร่วงง่าย ผลเป็นผลสด กลมเกลี้ยง ฉ่ำน้ำ
ประโยชน์ทางสมุนไพรไทย ตำรายาไทยใช้น้ำมะนาวและผลดองแห้งเป็นยาขับเสมหะแก้ไอ แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เพราะมีวิตามินซี น้ำมะนาวเป็นกระสายยาสำหรับสมุนไพรที่ใช้ขับเสมหะเช่นดีปลี


ที่มา  :  http://www2.oae.go.th/zone/zone4/board/index.php?topic=87.0